การแบ่งพาร์ติชั่น (Partition)

การแบ่งพาร์ติชั่น (Partition)
การแบ่งพาร์ติชั่น หมายถึงการแบ่งพื้นที่ของฮาร์ดดิส (HardDisk) ก็เป็นไดร์ฟ (Drive) ต่าง ๆ ตั้งแต่ C ไปได้เรื่อย ๆ ตามจำนวนเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์ที่มีอยู่เพื่อจัดสรรพื้นที่เก็บข้อมูลให้ได้คุ้มค่าและมากที่สุด
การทำให้ฮาร์ดดิสก์เปลี่ยนสถานะจากของใหม่ๆ ที่เพิ่งผลิตจากโรงงานมาเป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีการติดตั้ง DOS หรือ Windows9x จะต้องผ่าน 3 ขั้นตอน คือ การทำ Format ทางกายภาพ (Physical Formatting) การสร้างพาร์ติชั่น (Partitioning) และการ Format ทางลอจิคอล (Logical Formatting) เพื่อทำความเข้าใจว่าแต่ละขั้นตอนทำงานอย่างไร เราลองมาดูสรุปเกี่ยวกับการทำงานของฮาร์ดดิสก์ดังนี้
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) คือ อุปกรณ์กลไกที่ประกอบด้วยแผ่นจาน (โลหะกลมขนาดเล็กใช้สำหรับบรรจุแม่เหล็กบนด้านทั้งสอง) ซ้อนๆกัน มีแกนหมุน และมีหัวอ่าน/เขียน ข้อมูล ทำหน้าอ่านและเขียนข้อมูลจากแผ่นจาน หัวอ่านและเขียนจะเป้นตัวทำให้ประจุแม่เหล็กถูกเก็บลงบนจาน (กลายเป็นบิตต่างๆ) เมื่อคุณสั่งให้โปรแกรมอ่านไฟล์จากดิสก์ แผ่นจานจะหมุนไปรอบๆแกน แล้วหัวอ่านจะเลื่อนกลับไปกลับมาจนกระทั่งเจอบิตที่ต้องการ จากนั้นซอฟต์แวร์ในฮาร์ดดิสก์และตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk Controller) จะอ่านข้อมูลในบิตนั้นลงไปใน Ram และเมื่อคุณทำการบันทึกข้อมูล คอมพิวเตอร์จะส่งชุดของบิตไปยังฮาร์ดดิสก์ และบันทึกด้วยหัวเขียนกลายเป็นประจุแม่เหล็กบนฮาร์ดดิสก์
กลับมาเรื่องคอมพิวเตอร์กันต่อ ฮาร์ดดิสก์ของคุณจะยังใช้การไม่ได้จนกว่าจะผ่านขั้นตอนการ Format และการทำพาร์ติชั่น ขั้นแรก คือการ Format ทางกายภาพ หรือ Low-Level Format ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะทำมาให้แล้ว (สำหรับไดรว์รุ่นเก่าๆหรือไดรว์แบบ SCSI นั้น จะมียูทิลิตี้ใรการทำ Low-Level Format ส่วน IDE จะไม่มียูทิลิตี้ดังกล่าว) การทำ Low-Level Format เป็นการกำหนดโครงสร้างฮาร์ดดิสก์ให้เป็นแทร็ก (Track) , เซ็กเตอร์ (Sector) , และไซลินเดอร์ (Cylinder) คุณจะคุ้นเคยกับคำเหล่านี้ถ้าคุณเป็นคนชอบติดตั้งฮาร์ดดิสก์
แทร็กมีลักษณะเหมือนร่องบนแผ่นเสียง แต่แทร็กแต่ละวงจรจะแยกจากกัน ไม่ได้เป็นวงต่อๆกันเหมือนอย่างบนแผ่นเสียง แทร็กจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆเรียกว่าเซ็กเตอร์ แต่ละเซ็กเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากมาย แต่ละแผ่นจานจะมีแทร็กและเซ็กเตอร์เป็นของตัวเอง แต่ละไซลินเดอร์ก็คือ กลุ่มแทร็กที่สัมพันธ์กัน ซึ่งก็คือแทร็กที่มีระยะห่างจากแกนหมุนเท่าๆกันนั่นเอง เราลองมานึกถึงภาพไซลินเดอร์กัน สมมุติว่ามีแพนเค้กวางซ้อนกันอยู่ และมีแก้วน้ำจำนวนหนึ่ง ซึ่งแต่ละแก้วมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เท่ากัน กดแก้วแต่ละใบตรงกลางของกองแพนเค้ก ทำอย่างนี้จนครบทุกแก้ว แพนแค้กจะถูกแบ่งออกเป็นวงๆตลอดทั้งกอง นั่นคือลักษณะของไซลินเดอร์
หลังจากทำการ Format ทางกายภาพแล้ว ฮาร์ดดิสก์จะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ เรียกว่า "พาร์ติชั่น" แต่ละพาร์ติชั่นคือการแบ่งกลุ่มไซลินเดอร์ที่อยู่ติดๆกัน และในระบบปฏิบัติการบางตัว เช่น Linux คุณสามารถระบุได้ว่าจะให้ไซลินเดอร์ไหนอยู่พาร์ติชั่นใด จุดประสงค์ของการทำพาร์ตอชันก็เพื่อช่วยแบ่งส่วนฮาร์ดดิสก์ และทำให้สามารถ run ระบบปฏิบัติการได้หลายๆระบบบนเครื่องเดียว ซึ่งแต่ละระบบปฏิบัติการจะสามารถทำงานได้ดีที่สุดกับระบบไฟล์ของตน แต่ละพาร์ติชั่นจะมีระบบไฟลืได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น และในระบบไฟล์ก็จำเป็นต้องมีหลายพาร์ติชั่นเพื่อลดการสูญเปล่าของเนื้อที่ ซึ่งเราจะได้กล่าวถึงเรื่องนี้ในลำดับต่อไป
แม้ว่าเราจะทำการแบ่งพาร์ติชั่นแล้ว แต่ละฮาร์ดดิสก์ของคุณก็จะยังไม่สามารถใช้งานได้ และจะทำให้แต่ละพาร์ติชั่นสามารถเก็บข้อมูลได้ คุณจะต้องทำการ Format ทางลอจิคอลเสียก่อน ขณะที่การ Format ทางกายภาพ คือการกำหนดโครงสร้างให้กับฮาร์ดดิสก์ของคุณ การ Format ทางลอจิคอลจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับระบบปฏิบัติการ โดยระบบปฏิบัติการจะกำหนดโครงสร้างทางลอจิคอล หรือระบบไฟล์ให้แก่ดิสก์ เมื่อคุณใช้คำสั่ง Format บน DOS หรือเลือกเมนู Format ใน Windows Explorer นั่นหมายถึงคุณกำลังเริ่มต้นทำการ Format ทางลอจิคอลให้กับแผ่นดิกส์หรือฮาร์ดดิสก์ของคุณ
การ Format ทางลอจิคอล ก็คือ การใส่ระบบไฟล์ลงบนดิสก์ ระบบปฏิบัติการจะเป็นตัวกำหนดว่าระบบไฟล์แบบไหนที่จะใส่ลงบนดิสก์ของคุณ คุณไม่สามารถเลือกเองได้ ระบบไฟล์โดยทั่วๆไปสำหรับเครื่องที่ใช้ x86 ได้แก่
- FAT (File Allocation Table) เป็นระบบไฟล์มาตราฐานสำหรับ DOS และ Windows และด้วยการที่ FAT เป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวาง จึงสามารถใช้ร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่น เช่น Linux , OS/2 และระบบปฏิบัติการอื่นๆอีกด้วย
- VFAT (Virtual File Allocation Table) เป็นระบบไฟล์ FAT เวอร์ชันที่มีลักษณะเป็น Protected Mode ซึ่งจะถูกใช้โดย Windows 9x ระบบไฟล์นี้จะคล้ายๆกับ FAT ต่างกันตรงที่สามารรับชื่อไฟล์ยาวๆได้
- NTFS (NT Files System) เป็นระบบไฟล์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับ WIndows NT โดยเฉพาะ แม้ว่าคุณจะสามารถติดตั้ง Windows NT ในระบบไฟล์ FAT ได้ แต่ว่า NTFS จะให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าในด้านระบบความปลอดภัยในการเข้าถึงไฟล์มากกว่า และเสียเนื้อที่น้อยกว่า
- HPFS (High Performance File System) เป็นระบบไฟล์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับ OS/2 ซึ่ง HPFS ก็เหมือนกับ NTFS ที่จะมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี , มีความเชื่อถือได้ของข้อมูล มีประสิทธิภาพและความเร็วสูงกว่า FAT
- FAT32 (32-bit File Allocation System) ระบบไฟล์แบบนี้จะอยู่ใน Windows95 OSR2 ในเวอร์ชันที่มีการติดตั้งจากผู้ผลิต และ WIndows98 , FAT32 จัดข้อจำกัดของ FAT หลายประการออกไป แต่ระบบไฟล์นี้จะไม่สามารถใช้กับระบบปฏิบัติการอื่นนอกจาก Windows95 OSR2 , Windows98
หลังจากทำการ Format ทางลอจิคอลแล้วพาร์ตอชันจะถูกเรียกว่า Volume และจะดีมากหากคุณทำการตั้งชื่อให้กับพาร์ติชั่นซึ่งสามารถทำได้โดยผ่านทางคำสั่ง LABEL บน DOS หรือใช้ Windows Explorer การตั้งชื่อจะทำให้จำได้ง่ายขึ้นเวลาคุณใช้ซอฟท์แวร์ อย่างเช่น FDISK ซึ่งจะลดความผิดพลาดในการลบไฟล์ผิดพาร์ติชัน
จุดประสงค์ในการแบ่งพาร์ติชั่น
1. เพื่อทำให้ฮาร์ดดิสก์สามารถ Boot ด้วยตัวเองได้ เรียกว่า การ Set Active Partition
2. เพิ่มจำนวนไดร์ฟให้มากขึ้น เพื่อต้องการเก็บข้อมูลที่สำคัญไว้เป็นสัดส่วน
3. ลดขนาดของฮาร์ดดิสก์ให้เล็กลง เพื่อนำฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดใหญ่ไปใช้กับเครื่องรุ่นเก่าได้
ความหมายของแฟต (FAT)
Cluster หรือ Sector ของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้บันทึกข้อมูลแบ่งได้เป็น2ขนาดคือ
1.ขนาด FAT 16 (File Allocation Table) มีความเร็วในการทำงาน 16 bit จะเป็นการแบ่งฮาร์ดดิสก์ขนาดความจุตั้งแต่ 16 เม็กกะไบต์จนถึง 2.1 กิกะไบต์ และต้องใช้ DOS 6.22 , WIN 95 ในการแบ่งพาร์ติชั่น
2.ขนาด FAT 32 (File Allocation Table) มีความเร็วในการทำงาน 32 bit จะเป็นการแบ่งฮาร์ดดิสก์ขนาดความจุตั้งแต่ 512 เม็กกะไบต์ขึ้นไปและต้องใช้ WIN 95 OSR 2 , WIN 98 ในการแบ่งพาร์ติชั่น
ตารางเปรียบเทียบขนาดพาร์ติชั่น

ส่วนของพาร์ติชั่นที่จะต้องสร้าง
1. Primary Partition
2. Extend Partition
3. Logical Partition
Primary Partition คือไดร์ฟแรกที่สร้างขึ้นมาสำหรับ Boot เครื่องและทำงานหลัก
Extend Partition คือส่วนขยาย หมายถึงเมื่อสร้าง Primary แล้ว ก็ให้สร้าง Extend เป็นพื้นที่เตรียมแบ่งเป็นไดร์ฟย่อย
Logical Partition คือส่วนที่แบ่งจาก Extend สามารถแบ่งได้ D - Z แล้วแต่ความต้องการ